ขั้นตอนการลงทะเบียนตัวเองในทะเบียนบ้านนั้นง่ายกว่าที่คุณคิด และยังช่วยให้ชีวิตในดินแดนแห่งรอยยิ้มแห่งนี้ง่ายขึ้นอีกด้วย เรียนรู้ทั้งหมดเกี่ยวกับประเภท คุณประโยชน์ และขั้นตอนการยิ่นขอได้ ในบทความนี้โดย PropertySights Real Estate
ทะเบียนบ้านในประเทศไทยคืออะไร
ทะเบียนบ้าน เป็น บันทึกทางราชการของรัฐบาลเพื่อจดทะเบียนชื่อเจ้าของบ้านและผู้อาศัยที่พักอาศัยเป็นสมุดเล่มเล็ก ๆ ที่มีข้อมูลหลายหน้าเพื่อให้รายละเอียดเกี่ยวกับผู้พักอาศัยแต่ละราย
หน้าแรกของทะเบียนบ้านแสดงรายละเอียดที่อยู่ของที่พักอาศัย และประเภทที่พักอาศัย (คอนโดหรือบ้าน)
หน้าที่สองมีรายละเอียดของเจ้าบ้าน ซึ่งอาจเป็นหรือไม่เป็นเจ้าของบ้านที่แท้จริง รายละเอียดแสดงในหน้านี้ได้แก่ ชื่อ-นามสกุล สัญชาติ วันเกิด และเลขบัตรประชาชน 13 หลัก
หน้าถัดไปมีรายละเอียดของผู้อาศัยรายอื่นๆ ที่จดทะเบียนในที่อยู่นั้น
ประเภทที่พบบ่อยที่สุด คือ ทะเบียนบ้านสีน้ําเงินและสีเหลือง แต่ยังมีประเภทอื่นอีก สําหรับที่พักอาศัยและสถานะความเป็นเจ้าของที่ดินและทรัพย์สินที่แตกต่างกัน
ประเภทของทะเบียนบ้านมีกี่ประเภท
ทะเบียนบ้านมีทั้งหมด 5 ประเภท ดังนี้
- ทะเบียนบ้าน เล่มสีน้ำเงิน( ทร.14 )สําหรับรายชื่อคนไทยและชาวต่างชาติที่ได้รับสิทธิ์พำนักถาวรในฐานะผู้อาศัยในบ้าน
- ทะเบียนบ้าน เล่มสีเหลือง( ทร.13 )สําหรับรายชื่อผู้อยู่อาศัยเป็นการชั่วคราว (ถือวีซ่าคนอยู่ชั่วคราว) ในฐานะผู้อาศัยในบ้าน
- ทะเบียนบ้านชั่วคราว ใช้สําหรับลงทะเบียนชื่อผู้อาศัยในบ้าน ที่สร้างขึ้นโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารของประเทศไทย หรือบ้านที่สร้างอยู่ในเขตป่าสงวน ในทางทฤษฎีแล้ว ผู้อยู่อาศัยจะยื่นคําขอลงทะเบียนบ้านเล่มสีน้ําเงินหรือสีเหลืองตามปกติ เมื่อได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารแล้ว
- ทะเบียนบ้านชั่วคราว (จากสํานักทะเบียน) เพื่อขอถอนชื่อชั่วคราวเมื่อเดินทางต่างประเทศ.
- ทะเบียนบ้านกลาง สําหรับกรณีที่ ไม่สามารถลงทะเบียนในที่อยู่อาศัยแห่งใดได้.
ประโยชน์ของทะเบียนบ้านสีเหลืองสําหรับชาวต่างชาติในประเทศไทย
ประโยชน์อันดับแรกของทะเบียนบ้านสีเหลือง คือ Specific Business Tax (SBT) of 3.3% that normally applies to transfers of propertyตามกำหนดของ กฎหมายภาษีและที่ดินของไทย โดยยกเว้นให้บุคคลธรรมดาที่ใช้อสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นที่อยู่อาศัยหลักมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
ประโยชน์ถัดมา คือ ทะเบียนบ้านสีเหลือง สามารถใช้ขอ หนังสือรับรองที่พํานักอาศัยอย่างเป็นทางการซึ่งให้สิทธิแก่ชาวต่างชาติในการใช้ทําธุรกรรมทางกฎหมายต่างๆ ได้แก่
- ขอบัตรประจําตัวคนต่างด้าวสีชมพู
- ขอใบอนุญาตขับขี่ไทย
- ซื้อรถยนต์
- เปิดบัญชีธนาคารไทย
- ขอใช้บริการอินเทอร์เน็ตหรือซิมการ์ด
- ทําเอกสารทางกฎหมายต่างๆ
- การขอเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ถาวร หรือที่เรียกว่า PR (permanent residence) และขอสัญชาติ
เงื่อนไขสําหรับชาวต่างชาติในการขอทะเบียนบ้านสีเหลือง (ทร.13) คืออะไร?
ตามมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 ชาวต่างชาติที่อยู่ในประเทศไทยด้วย วีซ่าคนอยู่ชั่วคราว และเป็นผู้อาศัยชั่วคราว สามารถขอทะเบียนบ้านสีเหลือง (ทร.13) ได้ ซึ่งรวมถึงบุตรของคนเหล่านั้นที่เกิดในประเทศไทยด้วย
โดยทั่วไป ชาวต่างชาติจะขอเอกสารนี้ได้ 2 กรณี กรณีแรก คือ แต่งงานกับคนไทยและกรณีที่สอง หากซื้อและมีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย
กรณีที่พบไม่มาก คือ สําหรับการขอทะเบียนบ้านสีเหลืองจากการได้รับอนุญาตจากเจ้าของบ้านอีกรายหนึ่ง ซึ่งอาจมีความซับซ้อนมากขึ้น โดยต้องผ่านการสัมภาษณ์และอาจต้องเตรียมเอกสารเพิ่มเติมตามที่เจ้าหน้าที่เขตของแต่ละพื้นที่กําหนด ทําให้กระบวนการอาจใช้เวลานานขึ้น
วิธีการขอทะเบียนบ้านสีเหลืองสําหรับชาวต่างชาติ - เอกสารและเงื่อนไข
ก่อนยื่นคําขอทะเบียนบ้าน ควรตรวจสอบกับ สํานักงานเขตหรือเทศบาลในพื้นที่ เนื่องจากแต่ละพื้นที่อาจมีความต้องการเอกสารแตกต่างกัน โดยทั่วไปจําเป็นต้องเตรียมเอกสารดังนี้
- โฉนดที่ดิน
- ใบอนุญาตก่อสร้าง
- สัญญาซื้อขายหรือเช่าอย่างเป็นทางการ
- เอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับที่ดิน
- บัตรประจําตัวประชาชนของเจ้าของบ้าน (ต้นฉบับ)
- ทะเบียนบ้านของเจ้าของบ้าน (สําเนา)
- บัตรประจําตัวประชาชนของเจ้าของบ้าน
- หนังสือเดินทางและวีซ่า (ต้นฉบับ)
- เอกสารแปลหนังสือเดินทาง/วีซ่ารับรองโดยสถานทูตไทย
- ใบอนุญาตทํางาน (ถ้ามี)
- รูปถ่าย 2 ใบ (ขนาด 1.5 นิ้ว)
- ใบสําคัญการสมรส สําหรับคู่สมรสเป็นคนไทย
- บัตรประชาชนคู่สมรส (ต้นฉบับ)
- ใบสูติบัตรของบุตร (กรณีมีบุตร)
- หนังสือมอบอํานาจ ในกรณีไม่ได้มาสมัครด้วยตนเอง
เงื่อนไขสําคัญ คือ ต้องมีพยานคนไทย 2 คน พร้อมบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านตัวเอง และอาจต้องเซ็นชื่อรับรองเอกสารบางฉบับ เช่น ใบสําคัญการสมรส
ขั้นตอนการขอทะเบียนบ้านสีเหลืองสําหรับชาวต่างชาติ
เมื่อต้องการขอทะเบียนบ้านสีเหลือง ให้ดําเนินการตามลําดับขั้นตอนดังต่อไปนี้
- ไปสอบถามข้อมูลจากสํานักงานเขตหรือเทศบาลในพื้นที่ที่อสังหาริมทรัพย์ของคุณตั้งอยู่ เกี่ยวกับเอกสารและเงื่อนไขที่จําเป็นสําหรับการขอ เนื่องจากแต่ละพื้นที่อาจแตกต่างกันเล็กน้อย
- เตรียมเอกสารพร้อมแปลและลงนามรับรองตามความจําเป็น
- นัดหมายคนไทยอายุ 20 ปีขึ้นไป 2 คน ไปด้วย หากสํานักงานที่ขอกําหนดไว้
- นําเอกสารและพยานไปสํานักงานเพื่อกรอกแบบฟอร์มขอ
- รอรับทะเบียนบ้านสีเหลือง อาจได้ในวันเดียวกันหรือใช้เวลาหลายสัปดาห์ในบางกรณี
วิธีเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านสีเหลือง
สําหรับผู้ติดตามที่เป็นนักท่องเที่ยวชั่วคราวหรือผู้ถือวีซ่าคนอยู่ชั่วคราว สามารถเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านสีเหลืองได้ เช่นเดียวกับการทําทะเบียนบ้านครั้งแรก คือ ต้องไปติดต่อสํานักงานเขตหรือเทศบาลเพื่อยืนยันเอกสารและขั้นตอน จากนั้นปฏิบัติตาม แล้วรอการยืนยัน
ประโยชน์ของการมีทะเบียนบ้านสีฟ้าสําหรับคนไทย
ประโยชน์ของการมีทะเบียนบ้านสีฟ้า (ท.ร.14) สําหรับคนไทย คือ เป็นหลักฐานที่อยู่อาศัยอย่างเป็นทางการ ซึ่งทำให้กระบวนการทางกฎหมายหลายประการง่ายขึ้น เช่น
- การกู้ยืมเงิน
- การขอใช้บริการสาธารณูปโภค
- การซื้อของมีมูลค่าสูง เช่น รถยนต์
- การเปิดบัญชีธนาคาร
- แสดงหลักฐานสถานะสมรสสําหรับการสมรสในอนาคต
- เป็นหลักฐานแสดงสิทธิในการเลือกตั้ง
- ระบุเขตโรงเรียนของบุตร
- และอื่นๆ
เอกสารที่จําเป็นสําหรับการจดทะเบียนทะเบียนบ้านสีฟ้า
เมื่อจะขอทะเบียนบ้านสีน้ําเงิน ต้องใช้เอกสารดังต่อไปนี้:
- โฉนดที่ดิน
- บัตรประจำตัวประชาชน ของเจ้าของบ้านและผู้ขอ
- หนังสือแสดงการจดทะเบียนสิ่งปลูกสร้างของบ้านหลังดังกล่าว ที่ยื่นจดทะเบียนกับสํานักงานเทศบาล (เอกสาร ท.ร.9)
- ใบอนุญาตก่อสร้าง
- บางครั้งอาจต้องใช้รูปถ่ายด้านนอกของอาคารทุกด้านด้วย
ควรตรวจสอบกับสํานักงานเทศบาลเพื่อยืนยันเอกสารที่จําเป็นสําหรับขอทะเบียนบ้านสีน้ําเงิ
สามารถโอนที่อยู่อาศัยหลักไปยังทะเบียนบ้านเล่มอื่นได้หรือไม่
ได้ สามารถโอนที่อยู่อาศัยหลักไปยังทะเบียนบ้านเล่มอื่น เบื้องต้น ควรติดต่อสํานักงานเทศบาลที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่ใหม่ของคุณ.
ข้อดีของการย้ายชื่อไปทะเบียนบ้านเล่มอื่นคืออะไร
ข้อดีหลักของการย้ายชื่อไปทะเบียนบ้านเล่มอื่น คือ จะได้รับการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ (SBT) เมื่อขายอสังหาริมทรัพย์ หากได้จดทะเบียนเป็นที่อยู่อาศัยหลักมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี ก่อนการขาย ซึ่งครอบคลุมทั้งทะเบียนบ้านสีน้ําเงินและสีเหลือง
ข้อดีอีกประการหนึ่งของการย้ายทะเบียนบ้านสีน้ําเงิน คือ หากต้องการเลือกตั้งในเขตเทศบาลหรืออําเภอใหม่ รวมถึงช่วยให้การเปลี่ยนโรงเรียนของบุตรสะดวกขึ้น
วิธีการยื่นจดทะเบียนบ้านที่ซื้อจากบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
ในการขอทะเบียนบ้านใน การซื้อทรัพย์สินที่ซื้อจากผู้พัฒนาโดยตรง คุณจะต้องได้รับ ทะเบียนบ้านที่ว่างเปล่ามาด้วย ให้นําเอกสารดังต่อไปนี้ไปยื่นจดทะเบียนณ สํานักงานเขต (อําเภอ) ในพื้นที่ของคุณ
- ต้นฉบับและสําเนาสัญญาซื้อขาย
- ต้นฉบับและสําเนาโฉนดที่ดิน
- ต้นฉบับและสําเนาสัญญาจํานอง
- ต้นฉบับและสําเนาบัตรประชาชน
- สําเนาทะเบียนบ้านฉบับจากบริษัทพัฒนาอสังหาฯ
- หนังสือมอบอํานาจและสําเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอํานาจและผู้รับมอบอํานาจ (ถ้ามี)
จะเปลี่ยนชื่อไปไว้ในทะเบียนบ้านของอสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อมือสองได้อย่างไร
ท่านสามารถเปลี่ยนชื่อเจ้าของในทะเบียนบ้านของอสังหาริมทรัพย์มือสองได้ โดยหากเจ้าของเดิมยังมิได้จดทะเบียนชื่อ ท่านสามารถใช้ทะเบียนบ้านเล่มเดิม แต่หากเจ้าของเดิมได้จดทะเบียนชื่อแล้ว ท่านจําเป็นต้องจดทะเบียนบ้านใหม่ โดยสร้างทะเบียนบ้านเล่มใหม่และลงทะเบียนชื่อของท่านเองในฐานะเจ้าบ้านใหม่
เพื่อให้การจดทะเบียนเสร็จสิ้นสมบูรณ์ ให้ตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีเอกสารดังต่อไปนี้:
- บัตรประชาชน (ต้นฉบับและสําเนา)
- ทะเบียนบ้านฉบับจริงของคุณ และสําเนา หากย้ายภายในอําเภอหรือเทศบาลเดิม แต่หากย้ายไปยังพื้นที่ใหม่ทั้งหมด ไม่จําเป็นต้องใช้
- ทะเบียนบ้านของอสังหาริมทรัพย์แห่งใหม่ หากมี
- สัญญาซื้อขาย (ต้นฉบับและสําเนา)
- โฉนดที่ดิน (ต้นฉบับและสำเนา)
- หนังสือมอบอํานาจและสําเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอํานาจและผู้รับมอบอํานาจ (ถ้ามี)
ขั้นตอนการขอทะเบียนบ้านดิจิทัล
คนไทยสามารถขอ ทะเบียนบ้านดิจิทัลผ่านแอปพลิเคชัน ThaID ได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้
- ดาวน์โหลดแอป ThaID ลงบนอุปกรณ์ iOS หรือ Android ของคุณ
- ลงทะเบียนผู้ใช้ครั้งแรก
- ยอมรับข้อตกลงและเงื่อนไข สแกนบัตรประชาชน และถ่ายรูปใบหน้า
- เลือก "คัดและรับรองเอกสารการลงทะเบียน"
- เลือก "ระบบแจ้งเปลี่ยนแปลงที่อยู่ตัวเอง"
- ส่งคําขอไปยังเจ้าบ้านที่ต้องมีแอป ThaID ติดตั้งอยู่ด้วย
- รอการตอบรับจากเจ้าบ้าน ซึ่งจะส่งคําขอไปยังสํานักงานที่เกี่ยวข้องและแจ้งผลอนุมัติหรือปฏิเสธกลับมาให้ทราบ
คุณยังสามารถเลือก "ลงทะเบียนตัวเอง" ในการลงทะเบียนที่พักอาศัยของตนเองได้ด้วย
เจ้าบ้าน (ผู้เช่า) และเจ้าของบ้านที่แท้จริงมีความแตกต่างกันอย่างไรในประเทศไทย
ในประเทศไทย เจ้าของบ้านคือบุคคลที่ระบุไว้ว่า สิทธิ์ในกรรมสิทธิ์ ตาม โฉนดที่ดินสัญญาซื้อขาย และเอกสารสิทธิ์อื่นๆ ส่วนเจ้าบ้าน คือ หัวหน้าครอบครัวอาจเป็นหรือไม่เป็นเจ้าของบ้านก็ได้ได้ โดยอาจจะเป็นผู้เช่าหรือผู้พักอาศัยในอสังหาริมทรัพย์หลังนั้นก็ได้
เจ้าบ้านมีหน้าที่ต้องแจ้งต่อสํานักงานเขตเมื่อใด?
ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 เจ้าบ้านมีหน้าที่ต้องแจ้งสํานักงานเขต ภายใน 30 วัน หากมีการเกิดในบ้าน และภายใน 24 ชั่วโมง หากมีการเสียชีวิตหากเจ้าบ้านไม่อยู่เป็นระยะเวลานาน สามารถแต่งตั้งเจ้าบ้านชั่วคราวเพื่อปฏิบัติหน้าที่แทนได้ หากไม่ปฏิบัติตาม อาจมีค่าปรับไม่เกิน 1,000 บาท
คำถามที่พบบ่อย
ทะเบียนบ้านสามารถใช้ยืนยันกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ได้หรือไม่?
ไม่ได้ ทะเบียนบ้าน ไม่สามารถใช้เป็นการยืนยันสิทธิครอบครองอสังหาริมทรัพย์ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย แม้ว่าจะระบุชื่อเจ้าของทรัพย์สินอยู่ก็ตาม หลักฐานการครอบครองที่ถูกต้องตามกฎหมายคือโฉนดที่ดิน
สามารถใช้ทะเบียนบ้านเป็นหลักประกันจำนองสินเชื่อจํานองได้หรือไม่
ไม่ได้ ทะเบียนบ้านไม่สามารถใช้ในการขอสินเชื่อจํานองได้เนื่องจาก ไม่ได้เป็นหลักฐานแสดงการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์แต่สามารถใช้โฉนดที่ดินของอสังหาริมทรัพย์ที่ครอบครองเป็นเจ้าของได้
สามารถนําบุตรแรกเกิดมาลงทะเบียนในทะเบียนบ้านของตนเองได้หรือไม่
ได้ สามารถนําบุตรแรกเกิดมาลงทะเบียนในทะเบียนบ้านของตนเองได้ โดยจะต้องเป็นประเภททะเบียนบ้านที่เหมาะสมกับสถานะของบุตรเช่น หากบุตรมีสัญชาติไทยหรือมีถิ่นที่อยู่ถาวร จะต้องลงทะเบียนในทะเบียนบ้านสีฟ้า ส่วนหากเป็นคนต่างด้าวและไม่ใช่ผู้มีถิ่นที่อยู่ถาวร จะต้องลงทะเบียนในทะเบียนบ้านสีเหลือง
มีทะเบียนบ้านที่ไม่มีชื่อได้หรือไม่?
ได้ ทะเบียนบ้านไม่มีชื่อเจ้าบ้านได้ หากไม่มีผู้พักอาศัยในอสังหาริมทรัพย์หลังนั้น หรือผู้พักอาศัยต้องการลงทะเบียนที่อยู่อื่นนอกจากนี้ ทะเบียนบ้านสีน้ําเงินก็ไม่มีชื่อเจ้าบ้านได้หากเจ้าของเป็นผู้ที่ไม่ได้มีถิ่นที่อยู่ถาวร และไม่มีคนไทยพักอาศัยอยู่
หากท่านทําทะเบียนบ้านหาย ควรทําอย่างไร
เมื่อทําทะเบียนบ้านหาย ให้ยืนยันก่อนว่ามีการลงทะเบียนชื่อเจ้าบ้านหรือไม่ จากนั้นดําเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ ขึ้นอยู่กับว่ามีการลงทะเบียนเจ้าบ้านในทะเบียนบ้านหรือไม่
เจ้าบ้านมีชื่อในทะเบียน | ไม่ใช่เจ้าบ้าน (ผู้อาศัยหรือผู้เช่า) |
1. เจ้าบ้านนําบัตรประจําตัวประชาชนไปที่สํานักงานท้องถิ่นและดําเนินการขอทะเบียนบ้านเล่มใหม่ | 1. บุคคลผู้มีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ สามารถดำเนินการ ณ สํานักงานเขต โดยนําเอกสารพิสูจน์กรรมสิทธิ์ เช่น โฉนดที่ดิน สัญญาซื้อขาย เป็นต้น |
2. เจ้าบ้านสามารถมอบอํานาจให้ผู้อื่นดําเนินการแทนได้ โดยจะต้องมีหนังสือมอบอํานาจพร้อมสําเนาบัตรประชาชนของเจ้าบ้านและผู้รับมอบอํานาจ | 2. เจ้าของสามารถมอบอํานาจให้ตัวแทนดําเนินการได้เช่นเดียวกับกรณีที่มีเจ้าบ้านที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน |
3. รอการอนุมัติ | 3. เตรียมเอกสารอื่นๆ ที่จําเป็นสําหรับการขอใหม่ เช่น บัตรประชาชน ใบทะเบียนสมรส ฯลฯ |
4. รอการอนุมัติ |
กระบวนการขอทะเบียนบ้านอาจดูซับซ้อน แต่เมื่อคุณเข้าใจขั้นตอนแล้ว จะช่วยให้ชีวิตคุณในประเทศไทยสะดวกสบายขึ้นเป็นอย่างมาก สําหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการอํานวยความสะดวกในการใช้ชีวิต ตลอดจนบริการอสังหาริมทรัพย์อื่นๆ ติดต่อ บริษัท PropertySights Real Estate วันนี้เลย